สาเหตุของปัญหาผมร่วงศีรษะล้านในผู้ชายและปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุของปัญหาผมร่วงศีรษะล้านในผู้ชายที่พบบ่อย คือ ภาวะผมร่วงแอนโดรจีนีติก (androgenetic alopecia) หมายถึง ปัญหาศีรษะล้านรูปแบบผู้ชาย (male-pattern baldness) หรือภาวะผมร่วงจากกรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นผลของฮอร์โมนเพศชาย
ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน หรือ DHT ( Dihydrotestosterone ) มีอิทธิพลต่อรากผมและขน ซึ่งมีความไวต่อฮอร์โมนนี้ กำหนดโดยยีนที่รับการถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม รากขนที่มีความไวต่อฮอร์โมน DHT นี้ ปรากฏอยู่มากที่บริเวณด้านหน้า ส่วนบนและส่วนกลางของหนังศีรษะ แต่เดิมเข้าใจกันว่าภาวะนี้ถ่ายทอดมาจากพันธุกรรมที่ได้มาจากแม่หรือญาติทางฝั่งแม่ แต่ความจริงแล้วภาวะนี้สามารถถ่ายทอดมาได้จากทั้งทางแม่และทางพ่อ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะดังกล่าวนี้ มีความซับซ้อนมากขึ้น เดิมพบว่าส่วนประกอบของสารพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซมเอ็กซ์ (x – chromosome) ซึ่งได้รับมาจากแม่ มีความสำคัญและส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วงชนิดนี้ขึ้น จึงทำให้บางคนคิดว่าพันธุกรรมจากแม่มีผลมากกว่าพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อ
การค้นพบยีนตัวรับแอนโดรเจน (androgen recepter gene) บนโครโมโซม X ช่วยในการอธิบายว่า ทำไมรูปแบบศีรษะล้านในผู้ชายจึงเหมือนหรือคล้ายกับตาหรือญาติทางฝั่งแม่มากกว่าพ่อ แต่อย่างไรก็ตามศีรษะล้านที่พบในผู้ชาย อาจเหมือนที่พบในพ่อได้ ดังนั้นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมน่าจะมาได้จากยีนหลายตัวที่รับมาจากทั้งฝั่งพ่อและแม่
ผมร่วงแบบแอนโดรจีนีติก ดังกล่าวนี้อาจเกิดจากปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 3 อย่างได้แก่
1.ยีน (Genes)
ภาวะศีรษะล้านรูปแบบผู้ชายจะไม่เกิดขึ้นถ้าปราศจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากยีนที่เกี่ยวข้อง ยีนนี้อาจได้รับมาจากทั้งฝั่งพ่อและแม่ (ยีนคือหน่วยพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม โครโมโซมของคนมีทั้งหมด 23 คู่ โดยได้รับมาครึ่งหนึ่งจากพ่อ และอีกครึ่งหนึ่งจากแม่) ในปัจจุบันพบว่าผมร่วงจากภาวะนี้เกี่ยวข้องกับยีนมากกว่า 1 อัน (polygenic) ในปัจจุบันพบว่า ภาวะศีรษะล้านรูปแบบนี้มีความเกี่ยวข้องกับยีนบนโครโมโซม x ซึ่งผู้ชายได้รับมาจากแม่และเร็ว ๆ นี้มักมีการพบยีนบนโครโมโซมคู่ที่ 20 ที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ ซึ่งสามารถถ่ายทอดมาได้จากทั้งแม่และพ่อ ทำให้สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมลูกจึงมีศีรษะล้านรูปแบบคล้ายที่พบกับพ่อได้ แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักแต่พบว่า พันธุกรรมที่ได้รับจากแม่ดูเหมือนว่าจะมีความสำคัญมากกว่าที่ได้รับจากพ่ออยู่เล็กน้อย ยีนที่พบนี้น่าจะเป็นยีนเด่น (ผลการวิจัยบางแหล่งกล่าวว่า ยีนนี้เป็นยีนด้อย) หมายความว่ามียันนี้เพียงอันเดียวก็สามารถแสดงลักษณะของศีรษะล้านรูปแบบนี้ออกมาได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มียีนนี้อยู่จะแสดงลักษณะ (expressity) ของศีรษะล้านทุกคน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงลักษณะของยีนนี้ด้วย ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ ฮอร์โมน อายุ ความเครียด และปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล
- มีการร่นของแนวผมด้านหน้า หรือมุมซ้ายและขวาของหน้าผาก ทำให้หน้าผากมีลักษณะคล้ายรูปตัวอักษร M
- ผมบางจนมองเห็นหนังศีรษะบริเวณกลางกระหม่อมและบริเวณ ขวัญค่อนไปด้านหลัง (Crown)
- ตำแหน่งที่ผมบางตรงกลางศีรษะและขวัญ (Crown) ขนาดเส้นผมจะเล็กลงเรื่อยๆมากกว่าตำแหน่งอื่น
- ผมบริเวณเหนือกกหูทั้งสองข้าง และผมบริเวณท้ายทอย จะมีความหนาแน่นและขนาดเส้นผมปกติ
- มีหนังศีรษะอักเสบเป็นจุดแดงๆบริเวณรอบรูขุมขน
- มีหนังศีรษะมันมาก คันหนังศีรษะร่วม
- ในคนที่ศีรษะล้านมากๆ มักมีลักษณะบ่งว่าฮอร์โมนเพศชายสูงเช่น หน้ามัน หนวดเคราดก ขนที่อื่นมีเยอะ
- อาจจะมีหรือไม่มีประวัติว่า พ่อแม่มีปัญหาผมบางก็ได้
- มีผมร่วงมากจนน่าวิตก สังเกตพบได้ ที่ผ้าปูที่นอน ท่อระบายน้ำ ผ้าเช็ดตัวเวลาเช็ดผม
- ไม่มีการร่นแนวผมด้านหน้าผาก
- ผมบางเฉพาะด้านบนกลางศีรษะ รอยแสกผมจะกว้างขึ้นเรื่อยๆ และขนาดเส้นผมตรงกลางศีรษะเล็กลงเรื่อยๆ
- ผมบริเวณเหนือกกหูทั้งสองข้าง และผมบริเวณท้ายทอย อาจจะมีความหนาแน่นลดลงและขนาดเส้นผมเล็กลงได้แต่จะดีกว่า บริเวณกลางศีรษะด้านบน
- มีหนังศีรษะอักเสบเป็นจุดแดงๆ บริเวณรอบรูขุมขน
- มีหนังศีรษะมันมาก คันหนังศีรษะร่วม
- อาจจะมีหรือไม่มีประวัติว่า พ่อแม่มีปัญหาผมบางก็ได้
- ในผู้หญิงมักจะมีประวัติความผิดปกติของรอบเดือนในอดีตร่วมด้วย เช่นมาไม่สม่ำเสมอ หรือมักจะขาดหายไปเป็นช่วงๆ
- กรรมพันธุ์ผมบางในผู้หญิงจะแสดงเด่นชัดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดรอบเดือน
- มีผมร่วงมากจนน่าวิตก สังเกตพบได้ ที่ผ้าปูที่นอน ท่อระบายน้ำ ผ้าเช็ดตัวเวลาเช็ดผม หรือเวลาสระผม ลูปผมจะร่วงติดมือ
2.ฮอร์โมน (Hormones)
ฮอร์โมนคือสารเคมีที่หลั่งออกจากต่อม (glands) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อไปออกฤทธิ์ยังอวัยวะเป้าหมาย ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สร้างมากที่ต่อมลูกหมากและอัณฑะ ฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดลักษณะของความเป็นชาย ทำให้อวัยวะเพศชายเจริญขึ้น สร้างสเปิร์ม กระตุ้นให้มีความรู้สึกทางเพศ กระตุ้นให้มีขนบริเวณรักแร้ และหัวเหน่า แต่ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถทำให้เกิดศีรษะล้านได้ด้วย เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็น DHT ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้รากขนเสื่อมลง และตายได้ นอกจากนี้ฮอร์โมนชนิดนี้ยังผลิตขึ้นได้จากต่อมหมวกไต และรังไข่ของผู้หญิงอีกด้วย ดังนั้นในผู้หญิงจึงพบว่ามีปริมาณฮอร์โมนนี้อยู่ด้วย แต่พบในปริมาณที่น้อยกว่าในเพศชาย
ฮอร์โมนที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะศีรษะล้านคือฮอร์โมน DHT ซึ่งเปลี่ยนมาจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยการทำงานของเอนไซม์ 5 อัลฟารีดักเทส ( 5- alpha-reductase) ในผู้ชายพบว่าเอ็นไซม์นี้มีการทำงานมากขึ้นในบริเวณที่มีผมร่วง ฮอร์โมน DHT จะลดระยะการเจริญของผม ทำให้ผมเข้าสู่ระยะพักเร็ว ผมจึงหลุดร่วงเร็ว ดังนั้นจึงมียาที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์และใช้ในการรักษาผมร่วงได้แก่ Finasteride, Dutasteride
มีขนที่แขนขา แต่ทำให้เกิดผมร่วงที่บริเวณหนังศีรษะได้
3.อายุ
ไม่เฉพาะยีนและฮอร์โมนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับภาวะศีรษะล้านชนิดนี้ แม้ว่าในวัยรุ่นจะเริ่มมีฮอร์โมนเพศชาย testosterone แต่ภาวะนี้ยังพบได้น้อยในวัยรุ่น และพบมากขึ้นตามอายุ ดังนั้นอายุที่มากขึ้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะศีรษะล้านรูปแบบเพศชาย แต่จะเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล
อายุเป็นสาเหตุได้อย่างไร ยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดนัก ภาวะผมร่วงไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงที่แปรผันตามอายุ แต่กลับพบเป็นวงจรมีช่วงที่ผมร่วงเร็วขึ้นหรือช้าลงสลับกันไป ดังนั้นจึงน่าจะมีปัจจัยอื่นที่มากระตุ้นทำให้เกิดภาวะผมร่วงอีก แต่อย่างไรก็ตามพบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณของเส้นผมจะลดลง แม้ว่าจะไม่มีปัจจัยด้านพันธุกรรมเชื่อว่าเป็นความเสื่อมของเซลล์รากผมตามอายุที่มากขึ้น
จากการศึกษาพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นเส้นผมจะหดตัวทำให้ขนาดของเส้นผมและความยาวของเส้นผมลดลง นอกจากนี้รากขนยังทำงานน้อยลง และปริมาณของรากขนก็จะลดลงด้วย ทำให้ผมบนหนังศีรษะดูบางได้ในบางบริเวณ ทั้งนี้อาจเกิดเนื่องจากความเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น และการลดลงของปริมาณการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงยังบริเวณหนังศีรษะด้วย
- ปัญหาผมร่วงควรตั้งต้นตรงนี้
- ผมร่วงมากทำไงดี
- สาเหตุหลักๆของปัญหาผมร่วง
- เคล็ดลับในการป้องกันศีรษะล้าน
- กฏเหล็ก 6 ข้อในการป้องกันศีรษะล้าน
- จะหัวล้านเหมือนพ่อไหม ?