อาหารที่ควรและไม่ควรรับประทานสำหรับคนที่มีปัญหาผมร่วง
ทางไทยแฮร์เซ็นเตอร์ให้ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการมาก ในการที่จะให้คำแนะนำควบคู่ไปกับการรักษาผมร่วง จากประสบการณ์ของทาง ไทยแฮร์ฯ เองพบว่า หากผู้ที่เข้ารับการรักษาเรื่องผมร่วงผมบาง ได้ใช้หลักการกินอาหารที่ถูกต้อง เน้นบริโภคอาหารที่สำคัญ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโทษต่อการงอกของเส้นผมใหม่ ร่วมไปด้วย อัตราการได้ผลของการรักษาจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 25 %
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีภาวะผมร่วง
อาหารกลุ่มต่อไปนี้ผู้ที่มีปัญหาผมร่วงควรหลีกเลี่ยงหรือบริโภคให้น้อยที่สุด เพราะเป็น อาหารที่ทำให้ผมร่วง มีดังต่อไปนี้
- อาหารที่มีไขมันสูง และเป็นไขมันจากสัตว์เป็นหลัก เนื่องจากอาหารประเภทนี้จะเพิ่มระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งส่งผลร้ายต่อรากผม ทำให้ผมร่วงมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวญี่ปุ่นบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน และอาหารที่มีไขมันน้อย จึงพบภาวะศีรษะล้านในชาวญี่ปุ่นน้อย แต่ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นบริโภคไขมันเพิ่มขึ้น จึงพบภาวะศีรษะล้านได้มากขึ้นในชาวญี่ปุ่น
- อาหารที่เกลือสูง (salty diet) การรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีเกลือมากเช่น อาหารหมักดอง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และเส้นเลือดหดตัวได้ เป็นผลให้เลือดไปเลี้ยงรากผมได้น้อยลง
- คาเฟอีน ในชาและกาแฟ หรือแม้กระทั่งคาเฟอีนในเครื่องดื่มน้ำอัดลมสีดำ การดื่มในปริมาณมากเกินไปทำให้เส้นเลือดหดตัวได้
- ผงชูรส (โมโนโซเดียม กลูตาเมท) เป็นสารเคมีที่ทำให้เจริญอาหาร ทำให้น้ำหนักขึ้น และก่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา ผงชูรสมีผลโดยตรงต่อการดูดซึมปริมาณวิตามินต่างๆ เข้าสู่กระแสเลือดโดยเฉพาะ วิตามิน B6 ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมอย่างมาก ผู้ที่นิยมการกินอาหารที่มีผงชูรสปรุงแต่งบ่อยๆจะขาดวิตามินบี6 และเส้นผมจะยาวช้า
- แอสปาแตม (น้ำตาลเทียม) เนื่องจากเป็นสารเคมีที่ใช้แต่งให้ความหวาน จึงทำให้เกิดผลเสียกับสุขภาพหลายอย่าง
- อาหารที่ผ่านกรรมวิธีขัดขาวมาก เช่น ข้าว, น้ำตาล, แป้งขัดขาว เนื่องจากวิตามินที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้มักถูกเอาออกไปโดยขบวนการขัดขาว
- แอลกอฮอล์ เช่น เหล้า, เบียร์ และบุหรี่ เนื่องจากทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดหดตัว แข็งตัวมากขึ้น ทำให้แก่เร็ว และเส้นผมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นได้
- อาหารที่มีการแต่งกลิ่น และสี เนื่องจากสีและกลิ่นที่ผสมในอาหาร เป็นสารเคมีประเภทหนึ่งซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ และมีผมร่วงตามมาได้
4 ปัจจัย ด้านล่างนี้ถือว่าสำคัญที่สุดกับการได้ผลของการรักษาอาการผมร่วง
- ปรับฮอร์โมนที่หนังศีรษะ หลักการข้อนี้มีความสำคัญที่สุด มากกว่า 50 % ซึ่งทางไทยแฮร์เซ็นเตอร์ได้ใช้ทั้งยารับประทาน แชมพูปรับฮอร์โมนที่หนังศีรษะและซีรั่มหรือโลชั่นปรับฮอร์โมนที่หนังศีรษะ
- วิตามินเพียงพอ ทุกรายของผู้ที่มารับการรักษาผมร่วงที่ไทยแฮร์เซ็นเตอร์ จะได้รับคำแนะนำเรื่องวิตามินเสริมที่ถูกต้อง - มีความสำคัญประมาณ 15 %
- โภชนาการดี โปรตีนจากนมถั่วเหลืองสำคัญมากและง่ายต่อการฟื้นฟูโภชนาการ - มีความสำคัญประมาณ 25 %
- หลีกเลี่ยงสารเคมีและยา ทางไทยแฮร์เซ็นเตอร์จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เรื่องสารเคมีและยาต่างๆที่ใช้อยู่ประจำที่ผู้มารับการรักษาอาจจะคาดไม่ถึงว่ามีผลต่อการทำให้ผมร่วงมากขึ้น - มีความสำคัญประมาณ 10 %
อาหารที่ควรรับประทานในผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ศีรษะล้าน
อาหารกลุ่มต่อไปนี้ควรจะเน้นรับประทานให้มากกว่าปกติ เพราะพิสูจน์มาแล้วว่าช่วยในการเร่งการงอกของเส้นผมให้เร็วขึ้น ช่วยทำให้เส้นผมมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย อาหารบางอย่างอาจจะต้องรับประทานในปริมาณมากจริงๆจึงจะเห็นผลแบบน่าประหลาดและอัศจรรย์ใจ อาหารที่ช่วยทำให้ผมหนาขึ้นเร่งผมยาวเร็วขึ้นและผมดกมากขึ้น จัดเป็นอาหารบำรุงรากผมชั้นยอด มีดังต่อไปนี้
- กินอาหารที่มีไขมันน้อย (low fat food) อาหารที่มีไขมันน้อยอาจไม่ได้หยุดผมร่วง แต่ช่วยให้ผมร่วงน้อยลงได้
- กินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เครื่องใน ผักใบเขียวเข้ม ไข่ ธัญพืช เนื่องจากภาวะโลหิตจางจะทำให้เกิดผมร่วงได้ ธาตุเหล็กจะมีอยู่ในฮีโมโกลบิน ที่จะช่วยในการขับออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งรากผมด้วย
- กินอาหารที่มีโปรตีนสูง เนื่องจากผมที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตีน โปรตีนที่มีคุณภาพดีและมีการศึกษาพบว่าช่วยในการเจริญของผม คือ โปรตีนจากถั่วเหลือง เต้าหู้ นอกจากนี้โปรตีนคุณภาพดีอื่นๆ เช่น ไข่ ปลา ถั่ว อื่น ๆ โยเกิร์ต และชีสไขมันต่ำ (low–fat cheese)
- กินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี โดยเฉพาะ B3, B5, B6, B12 เนื่องจากช่วยในการเจริญของเส้นผม ทำให้ผมยาวเร็ว และลดผมร่วง พบใน ธัญพืช, ตับ, ไข่, ถั่ว, ผักใบเขียว, เมล็ดดอกทานตะวัน, จมูกข้าวสาลี, ยีสต์
- อาหารที่มีวิตามินซีมาก ได้แก่ พวกผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม, มะนาว, ฝรั่ง, แตงกวา
- อาหารที่มีซิลิกาสูง (Silica) ซิลิกามีความสำคัญในการช่วยลดผมร่วง บางครั้งนำมาใช้ผสมในแชมพูร่วมด้วย อาหารที่มีซิลิกาสูงได้แก่ มันฝรั่ง, พริกไท, แตงกวา
- อาหารที่มีวิตามิน เอ เพื่อจะช่วยให้หนังศีรษะมีสุขภาพดี พบใน แครอท, บอคเคอรี, มะเขือเทศ, ฟักทอง
- อาหารที่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant) เพื่อลดความเสื่อมที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น เช่น เบอรี่, เชอรี่
- อาหารที่มีวิตามิน E ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยการเจริญของผม พบได้ใน ถั่ว, น้ำมันมะกอก, เมล็ดพืช, อโวคาโด
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือ 8 แก้ว
อาหารที่หารับประทานได้ง่ายช่วยทำให้ผมดกขึ้น ผมหนาขึ้นและยาวเร็วขึ้น หากรับประทานเป็นกิจวัตร คุณจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงว่าเส้นผมใหญ่ขึ้นและผมหนาขึ้นชัดเจนภายในระยะเวลา 4-6 เดือน
- ไข่ไก่ เป็นแหล่งโปรตีนอัลบูมินและไบโอตินที่สำคัญอย่างยิ่ง
- ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน เป็นแหล่งอุดมด้วยโอเมก้า3 (omega-3 fatty acids) ช่วยในการเจริญเติบโตของเส้นผมและเพิ่มความหนาแน่นของเส้นผม
- มันเทศ (มันม่วง) (Sweet potatoes) มีวิตามินเอสูง และช่วยให้รากผมผลิตไขมันออกมาพอประมาณเพื่อให้เส้นผมชุ่มชื่น และช่วยเร่งความยาวของเส้นผม (ถ้าหนังศีรษะมันมากควรหลีกเลี่ยง)
- พืชตระกูลถั่ว (Nuts and Beans) ถั่วอัลมอนด์ ถั่วเหลือง มี วิตามินบี วิตามินอี ซิงค์ และกรดไขมันจำเป็น (essential fatty acids) สูง หาง่ายราคาประหยัด มีผลวิจัยบอกว่านอกจากจะช่วยเรื่องผมแล้วยังเป็นผลดีต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
- หอยนางรม (Oysters) มีซิงค์ในปริมาณสูง ช่วยบำรุงต่อมลูกหมากและรากผม
- กุ้งฝอย (Shrimp) มีโปรตีน วิตามินบี และธาตุเหล็กสูง
- 12 สุดยอดเมนูอาหารสำหรับผมร่วง
- อาหารเสริมและวิตามินสำหรับผู้มีอาการผมร่วง
- อาหารและโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับคนผมร่วง